วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตัวอย่างของโมเด็มมาตรฐาน

ตัวอย่างของโมเด็มมาตรฐาน
             
Modulator - Demodulator
  •  Modulator  การแปลงสัญญาณจากแบบดิจิตอลไปเป็นแบบอะนาลอก
  • Demodulator  การแปลงสัญญาณจากแบบอะนาลอกไปเป็นแบบดิจิตอล 


ฟรอนท์เอ็น (Front-end Processor)          ฟรอนต์-เอ็นโปรเซสเซอร์ หรือ FEP เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อโฮสต์คอมพิวเตอร์  หรือมินิคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ของเครือข่ายการสื่อสารข้อมูล     (ได้แก่ มัลติเพล็กเซอร์ โมเด็ม และอื่น ๆ )  มินิคอมพิวเตอร์บางเครื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฟรอนต์-เอ็นโปรเซสเซอร์ช่วยในการเชื่อมต่อการสื่อสาร         ฟรอนต์-เอ็นโปรเซสเซอร์จะเชื่อมต่อโดยตรงกับโฮสต์คอมพิวเตอร์   โดยผ่านช่องทางข้อมูลอัตราเร็วสูงในเครือข่ายขนาดใหญ่  ช่องทางดังกล่าวอาจจะใช้สายไฟเบอร์ออปติก ส่วนอีกด้านหนึ่งของฟรอนต์-เอ็นโปรเซสเซอร์ก็ต่อเข้ากับมัลติเพล็กซ์เซอร์  หรือโมเด็ม  หรือต่อเข้าโดยตรงกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพอร์ตต่อพอร์ต เพราะว่าฟรอนต์-เอ็นโปรเซสเซอร์เป็นคอมพิวเตอร์         ดังนั้นจึงต้องมีฮาร์ดแวร์ หน่วยความจำ และซอฟต์แวร์ (โปรแกรม)  เป็นของตัวเอง  จำนวนของอุปกรณ์ที่ต่อเข้ากับพอร์ตของฟรอนต์-เอ็นโปรเซสเซอร์อาจจะมีได้มากถึง  64 หรือ 128  หรือ  256 อุปกรณ์ต่อฟรอนต์-เอ็นโปรเซสเซอร์  1 เครื่อง  อย่างไรก็ตามเรายังต้องคำนึงเวลาในการตอบสนองให้ทันต่อการใช้งาน  ซึ่งจะทำให้เราต้องลดจำนวนอุปกรณ์ลงมา  และยังขึ้นอยู่กับขนาดของหน่วยความจำอีกด้วย
   หน้าที่โดยหลัก ๆ ของฟรอนต์-เอ็นโปรเซสเซอร์ มีดังนี้
  1. แก้ไขข่าวสาร : ด้วยการจัดเส้นทางข่าวสาร อัดขนาดข้อมูล และแก้ไขข้อมูล
  2. เก็บกักข่าวสาร : เป็นการเก็บกักข่าวสารข้อมูลไว้ชั่วคราว  เพื่อจัดระเบียบการเข้า-ออกของข้อมูลของคอมพิวเตอร์  และจัดลำดับความสำคัญก่อน-หลังของสายและผู้ใช้
  3. เปลี่ยนรหัส : เปลี่ยนอักขระและข่าวสารจากรหัสหนึ่งไปเป็นอีกรหัสหนึ่ง  หรือระหว่างโปรโตคอลหนึ่งไปเป็นอีกโปรโตคอลหนึ่ง
  4. รวบรวมหรือกระจายอักขระ : จากบิตเป็นอักขระหรือจากอักขระเป็นบิต สำหรับการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัสและซิงโครนัส
  5.  ควบคุมอัตราเร็ว : ควบคุมอัตราเร็วการส่ง-รับข้อมูลของสายส่งข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ให้สัมพันธ์กัน
  6. จัดคิว : ควบคุมคิวการเข้า-ออกของข้อมูลคอมพิวเตอร์หลัก
  7. ตรวจจับและควบคุมความผิดพลาด : เพื่อร้องขอให้มีการส่งข้อมูลมาใหม่ เมื่อตรวจจับได้ว่ามีความผิดพลาดในการส่งข้อมูลเกิดขึ้น
  8. อีมูเลต : เป็นการเลียนแบบซอฟต์แวร์ของฮาร์ดแวร์อันหนึ่งให้  "ดูเสมือน"  กับซอฟต์แวร์ของฮาร์ดอื่น ๆ ในเครือข่ายในเครือข่าย ฯลฯ
มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer)
                การทำงานของมัลติเพล็กเซอร์  มัลติเพล็กเซอร์จะรับสัญญาณข้อมูลจากผู้ส่งข้อมูลจากแหล่งต้นทางต่างๆ 
ซึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปยังปลายทางในที่ต่างๆกัน  ดังนั้นสัญญาณข้อมูลต่างๆเมื่อผ่านมัลติเพล็กซ์เซอร์ มัลติเพล็กซ์เซอร์ก็จะเรียงรวม(มัลติเพล็กซ์)กันอยู่ในสายส่งข้อมูลเพียงสายเดียว  และเมื่อสัญญาณข้อมูลทั้งหมดมา
ถึงเครื่องมัลติเพล็กซ์เซอร์ชึ่งเรียกว่า อุปกรณ์ดีมัลติเพล็กซ์เซอร์อีกเครื่องหนึ่งทางปลายทาง สัญญาณทั้งหมดก็จะถูกแยก
(ดีมัลติเพล็กซ์) ออกจากกันไปตามเครื่องรับปลายทางของแต่ละช่องทางสายส่งข้อมูลที่ใช้ในการส่งข้อมูลจะต้องมีความจุสูง
จึงจะสามารถรองรับปริมาณข้อมูลจำนวนมากที่ถูกส่งผ่านมาพร้อมๆกันได้  สายส่งข้อมูลดังกล่าว  ได้แก่  สายโคเอก 
สายไฟเบอร์ออปติก  คลื่นไมโครเวฟ  และคลื่นดาวเทียม                วิธีการรวมช่องทางการสื่อสารข้อมูล  หรือการมัลติเพล็กซ์ที่จะกล่าวถึงในที่นี้มีอยู่  3  วิธีคือ
  1. การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งตามความถี่  (Frequency Division Multiplexing)  หรือ FDM ซึ่งเป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุดโดยเฉพาะด้านวิทยุและโทรทัศน์
  2. การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งตามเวลา  (Time Division Multiplexing)  หรือ TDM  ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อของซิงโครนัส TDM (Synchronous TDM) ส่วนใหญ่จะใช้ในการมัลติเพล็กซ์สัญญาณเสียงดิจิตอล  เช่น แผ่นเพลง CD
  3. การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งตามเวลาด้วยสถิติ (Statistical Time Division Multiplexing) หรือ STDM ซึ่งมี่ชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อะซิงโครนัส TDM (Asynchronous TDM) หรืออินเทลลิเจนท์ TDM(Intelligent TDM) ในที่นี้เราจะใช้ชื่อเรียกสั้นๆว่า STDMสำหรับ STDM เป็นวิธีการมัลติเพล็กซ์ที่ปรับปรุงการทำงานมาจากวิธีซิงโครนัส TDMให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้นเพื่อรองรับจำนวนช่องทางให้ได้มากขึ้น
หน่วยควบคุมการแยกสัญญาณ (Cluster Control Unit)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น