วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

http://computernetwork.site40.net/chapter2-3.html

ความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึง การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อ เข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากร ของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย โดยใช้งานทรัพยากรรวมกัน สามารถทำได้ทั้งที่เป็น ฮาร์ดแวร์ เช่น Printer Scanner หรือ ซอฟท์แวร์ เช่น ซอฟท์แวร์ระบบฐานข้อมูล เป็นต้น
2. สามารถใช้ความสามารถของเครื่องอื่นได้ เช่นถ่ายโอนข้อมูลของเราไปยังเครื่องที่มีความเร็วสูงเพื่อให้ประมวลผล แทนเครื่องของเรา ทำให้งานเสร็จแล้วยิ่งขึ้น
3. สามารถติดต่อคนในเครือข่ายได้
4. สำหรับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร ทำให้การทำงานขององค์กรเป็นไปอย่างมีระบบและต่อเนื่อง
องค์ประกอบของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. คอมพิวเตอร์แม่ข่าย
คอมพิวเตอร์แม่ข่าย หมายถึง คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วย ประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของ เครือข่าย เรานิยมเรียกว่า Host และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่า ลูกข่าย หรือสถานีงาน หรือ Client Computer

2. ช่องทางการสื่อสาร
ช่องทางการสื่อสารหมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูลระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสารสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
2.1 ประเภทมีสาย ได้แก่ สายคู่ตีเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง
2.2 ประเภทไม่มีสาย ได้แก่
2.2.1ระบบไมโครเวฟ (Microwave System) กลไกของการสื่อสารและรับสัญญาณของไมโครเวฟใช้จานสะ
ท้อนรูปพาลาโบลา เป็นระบบที่ใช้วิธีส่งสัญญาณที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นวิทยุเป็นทอดๆ จากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่ง และ สัญญาณของไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรง ดังนั้นสถานีจะต้องพยายามอยู่ในที่สูงๆ สถานีหนึ่งๆ จะ ครอบคลุมพื้นที่ที่รับสัญ ญาณได้ 30-50 กม.ความเร็วในการส่งข้อมูล 200-300 Mbps ระยะทาง 20-30 mile ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความสูงของเสาสัญญาณ
2.2.2 ระบบดาวเทียม (Satellite System) ใช้หลักการคล้ายกับระบบไมโครเวฟ ในส่วนของการยิงสัญญาณ
จากแต่ละสถานีต่อกันไปยังจุดหมายที่ต้องการ โดยอาศัยดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลก ขั้นตอนในการส่งสัญญาณมี ทั้งหมด 3 ขั้นตอนคือ
- สถานีต้นทางจะส่งสัญญาณขึ้นไปยังดาวเทียม เรียกว่าสัญญาณเชื่อมต่อขาขึ้น (Up-Link)
- ดาวเทียมจะตรวจสอบตำแหน่งสถานีปลายทางหากอยู่นอกเหนือขอบเขตสัญญาณ จะส่งต่อไปยังดาวเทียม ที่ครอบคลุมสถานีปลายทางนั้น
- หากอยู่ในขอบเขตพื้นที่ที่ครอบคลุมจะทำการส่งสัญญาณไปยังสถานีปลายทาง เรียกว่าสัญญาณเชื่อมต่อขา ลง (Down-Link) อัตราเร็วในการส่ง 1-2 Mbps

รูปที่ 18 ระบบดาวเทียม
2.3 ระบบอื่นๆ
2.3.1 ระบบวิทยุ (Radio Transmission) จะใช้คลื่นวิทยุในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ จะมีปัญหากับ ว่าการขออนุญาตใช้คลื่นความถี่เป็นไปได้ยาก
2.3.2 ระบบอินฟราเรด (Infrared Transmission) ใช้เทคโนโลยีเช่นเดียวกับ remote control ของเครื่องรับ
โทรทัศน์ จะมีข้อจำกัดที่ต้องใช้งานเป็นเส้นตรง ระหว่างเครื่องรับ และเครื่องส่ง รวมทั้งไม่อาจมีสิ่งกีดขวางด้วย
2.3.3 โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cellular Transmission) จะอาศัยการส่งสัญญาณของโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการส่งผ่าน ข้อมูล

3. สถานีงาน
สถานีงาน (Workstation or Terminal) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงานที่ได้รับการบริการจากเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเรียกว่า คอมพิวเตอร์
ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วยประมวลผล หรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ์เมนเฟรม เป็นศูนย์กลาง เรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น ไม่มีหน่วย ประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host

4. อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อในระบบเครือข่าย
4.1 การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณ ของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจาก คอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้

    รูปที่ 19 การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย
4.2 โมเด็ม (Modem: Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จาก คอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่งเป็นอนาลอก (Analog) เมื่อถึงคอมพิวเตอร์ผู้รับ โมเด็มจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาลอกให้เป็นดิจิตอล นำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผล โดยปกติจะใช้โมเด็มกับระบบเครือข่ายระยะไกล โดยการใช้สายโทรศัพท์ เป็นสื่อกลาง เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
4.3 อุปกรณ์รวมสัญญาณ ประกอบด้วย
4.3.1 มัลติเพล็กซ์เซอร์ (Multiplexer) นิยมเรียกกันว่า มัก (Max) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการรวมข้อมูล (multiplex) จาก เครื่องเทอร์มินัล จำนวนหนึ่งเข้าด้วยกัน และส่งผ่านไปยังสายสื่อสารเดียวกัน และที่ปลายทาง MUX อีกตัวจะทำหน้าที่แยก ข้อมูล (de - multiplex) ส่งไปยังจุดหมายที่ต้องการการ Multiplexing ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลา (Time Division Multiplexer หรือ TDM) และการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ (Frequency Division Multiplexer หรือ FDM)
4.3.2 คอนเซนเตรเตอร์ (Concentrator) เรียกกันสั้นๆ ว่าคอนเซนเป็นมัลติเพลกเซอร์ ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นคือ มี หน่วยความจำ ( buffer ) ที่ใช้เก็บข้อมูลเพื่อส่งต่อได้ ทำให้ สามารถเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงกับอุปกรณ์ความเร็ว ต่ำ จะมีการบีบอัดข้อมูล(compress) เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลได้มากขึ้น
4.3.3 ฮับ (Hub) คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการเชื่อมต่อ ของเครือข่ายแบบดาว (Star) โดยปกติใช้เป็นจุดรวมการเชื่อมต่อสายสัญญาณระหว่าง File Server กับ Workstation ต่าง ๆ
4.4 อุปกรณ์เชื่อมต่อบนระบบเครือข่าย
4.4.1 รีพีตเตอร์
(Repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับฟิสิคัลเลเยอร์ ( Physical Layer) ในOSI Model มีหน้าที่เชื่อมต่อสำหรับขยายสัญญาณให้กับเครือข่าย เพื่อเพิ่มระยะทางในการรับส่งข้อมูลให้กับเครือข่ายให้ไกลออกไปได้
กว่าปกติ มีข้อจำกัด คือทำหน้าที่ในการส่งต่อสัญญาณที่ได้มาเท่านั้น จะไม่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายซึ่งอาศัยวิธีการ access ที่แตกต่างกัน เช่น Ethernet กับ Token Ring
4.4.2 บริดจ์ (Bridge) มักใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segment) 2 วงเข้าด้วยกัน บริดจ์จะทำงานที่
ดาต้าลิ้งค์เลเยอร์ (Data Link Layer) ทำการกรองสัญญาณและส่งผ่านแพ็กเก็ตข้อมูลไปยังส่วนต่างๆ ของระบบเครือข่าย อาจมี
โครงสร้างสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันได้เช่น บริดจ์สามารถเชื่อมโยงส่วนของ Ethernet เข้ากับส่วนของ Token Ring
4.4.3 สวิตซ์ (Switch) หรือที่นิยมเรียกว่า อีเธอร์เนตสวิตซ์ (Ethernet Switch) จะเป็นบริดจ์แบบหลายช่องทาง (Multiport Bridge) ที่นิยมใช้ในระบบเครือข่าย LAN แบบ Ethernet เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกันลดการจราจร ระหว่างเครือข่ายที่ไม่จำเป็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น